วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้น ๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงานในที่นี้จะบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้


1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน

4. การลงมือทำโครงงาน

5. การเขียนรายงาน

6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน




1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้


ภาพที่ 1.11 องค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
cr.http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html


1.1 ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา

1.2 สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้

1.3 มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา

1.4 มีเวลาเพียงพอ

1.5 มีงบประมาณเพียงพอ

1.6 มีความปลอดภัย




2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน 
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้

cr.arphraonline-com.blogspot.com

1. จะทำ อะไร 

2. ทำไมต้องทำ 

3. ต้องการให้เกิดอะไร

4. ทำอย่างไร

5. ใช้ทรัพยากรอะไร

6. ทำกับใคร

7. เสนอผลอย่างไร




3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ ดังนี้

    3.1 ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิงและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ

    3.2 วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงการที่จะพัฒนา

   3.3 ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษา โปรแกรม และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้

   3.4 กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ

   3.5 ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

   3.6 เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด

cr.http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html



4. การลงมือทำโครงงาน

เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้

   4.1 การเตรียมการ

   การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ

   4.2 การลงมือพัฒนา

         1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น

         2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย

         3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน

   4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
         การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย

   4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ

         เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย

   4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ

         เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้




5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้ 
การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้

cr.http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html

   5.1 ส่วนนำ

         ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย

            1. ชื่อโครงงาน

            2. ชื่อผู้ทำโครงงาน

            3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

            4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ

            5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ

   5.2 บทนำ

         บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย

            1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

            2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า

            3. ขอบเขตของโครงงาน

   5.3 หลักการและทฤษฎี

         หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย

   5.4 วิธีดำเนินการ

         วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน

   5.5 ผลการศึกษา

         ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก

   5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ

         สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย

   5.7 ประโยชน์

         ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย

   5.8 บรรณานุกรม

          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย

   5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน

         หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย

         1. ชื่อผลงาน

         2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้

         3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์

         4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก

         5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ




6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

cr.http://siwakornkongwee.myreadyweb.com/article/topic-49419.html

   1. ชื่อโครงงาน

   2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

   3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

   4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน

   5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ

   6. การสาธิตผลงาน

   7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน




ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้

1) จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างมีระบบ และนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย

2) ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบาย รวมไปถึงการเตรียมข้อมูลที่อาจจะต้องใช้ในการตอบคำถาม

3) หลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน

4) ควรมองไปยังผู้ฟังรายงาน

5) ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา

6) รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

7) ควรใช้สื่อ เช่น สไลด์ แผ่นใส ประกอบการรายงาน

8) ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง

9) ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี



การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัย และประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต



วีดีโอเกี่ยวกับขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

cr.https://youtu.be/SDnWOGjBAIg






ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html

          http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content2.html

          http://3.bp.blogspot.com

          http://siwakornkongwee.myreadyweb.com/article/topic-49419.html

          https://youtu.be/SDnWOGjBAIg








วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2 ประเภทโครงงานคอมพิวเตอร์


ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์


     
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ


1.
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2.
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3.
โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4.
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5.
โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
cr.http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     
โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง
ตัวอย่างโครงงาน
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยอสร้างเป็นโปรแกรมบทเรียน หรือบทเรียนออนไลน์ ที่อาจมีแบบฝึกหัดหรือคำถามเพื่อทดสอบ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เช่น บทเรียนออนไลน์เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ บทเรียนออนไลน์เรื่องชุดกล่องสมองกล หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสำนวนสุภาษิต








cr.http://wisawachit-sawangphon-class-m6-4-no-4.blogspot.com/2014/11/blog-post.html
cr.http://wisawachit-sawangphon-class-m6-4-no-4.blogspot.com/2014/11/blog-post.html
cr.http://wisawachit-sawangphon-class-m6-4-no-4.blogspot.com/2014/11/blog-post.html
 ****************************************************************************


2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)

     
เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง เช่น โปรแกรมประเภท 3D
ตัวอย่างโครงงาน
โครงงานประเภทนี้มีขั้นตอนดำเนินงานเหมือนกับโครงงานประเภททดลอง  คือ  ต้องมีการตั้งสมมุติฐาน  ระบุตัวแปร  และทดลองใช้ว่าสิ่งประดิษฐ์เองเราใช้ได้ตามที่เราตั้งสมมุติฐานไว้หรือไม่

- โครงงานสร้างแบบจำลองเตาเผาขยะไร้ควัน
โครงงานออกแบบโต๊ะทำงานจากแผ่นซีดีที่หมดสภาพแล้ว
โครงงานสร้างเครื่องมือในการดูดควันจากห้องครัว
- โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย
- โปรแกรมอ่านอักษรไทย
- โปรแกรมวาดภาพสามมิติ
- โปรแกรมบีบอัดข้อมูล
- ปรแกรมประมวลผลคำไทยบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์


 
cr.http://kokookkok.blogspot.com/2012/08/5-tools-development-3d-developmental.html
 ****************************************************************************
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment) 

เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี


  -การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์
  -การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์
  -การทดลองผสมสารเคมีต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์
 -ปัจจัยต่างๆ กับการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน
 -ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน
 -โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น
 -โปรแกรมจาลองการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
 -การทานายอุณหภูมิจากข้อมูลที่ผ่านมา
 -การเปรียบเทียบเทคนิคของการย่อขนาดแฟ้มข้อมูล



****************************************************************************
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

     
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย
  
ตัวอย่างโครงงาน 1
ชื่อโครงงาน การศึกษา Computer Generated Hologram และ การประยุกต์ใช้งานอย่างง่าย  ชื่อผู้ทำโครงงาน นายไพโรจน์ ศิรินามารัตนะ  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว  สถาบันการศึกษา นิสิตระดับปริญญาตรีปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระดับชั้น ปริญญาตรี  หมวดวิชา คอมพิวเตอร์  วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน 1/1/2541 บทคัดย่อ การถ่ายภาพ hologram ด้วยแสงเลเซอร์ (Laser hologram) คือ การบันทึกรูปแบบการแทรกสอด (Interference pattern) ของแสง 2 ขบวน คือ แสงที่มาจากวัตถุ (Object beam) กับ แสงอ้างอิง (Reference beam) ลงบน recording medium โดยการฉายแสงอ้างอิง ที่ตำแหน่งเดิมกับ recording medium อีกครั้งหนึ่ง ก็จะสามารถเห็นภาพวัตถุเป็นแบบ 3 มิติได้

จากการศึกษาการเกิดภาพ 3 มิติ ด้วยวิธีข้างต้น เกิดจากการที่แสงอ้างอิงผ่าน recording medium โดยอาศัยหลักการแทรกสอดและเลี้ยวเบนของแสง เมื่อเรารู้ว่าแสงอ้างอิงมีลักษณะอย่างไร และเราต้องการวัตถุ 3 มิติแบบไหน เราก็จะจะสามารถคำนวณรูปแบบการแทรกสอดบน recording medium, นั้นได้ จากนั้นก็สามารถสร้างรูปแบบการแทรกสอดที่เราคำนวณได้ด้วยวิธี Laser writing หรือ electron Lithography เป็นต้น ซึ่ง hologram ที่ได้นี้ถูกเรียกว่า Computer Generated Hologram (CGH)

การประยุกต์ใช้งาน CGH ที่เห็นได้ชัดก็เช่น การสร้างภาพ 3D holographic Television ซึ่งการคำนวณ Interference pattern และการ lithography เพื่อให้ได้ภาพ 3D ที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่ทำยากส่วนที่ง่ายลงมาก็คือการใช้ CGH ในการบังคับลำแสงให้เป็นรูปแบบต่างๆ โดยอาจทำเป็น Lens รวมแสง,กระจายแสงให้เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ซึ่งสามารถนำประยุกต์ใช้งานเป็น Holographic transmitterใน Optical Wireless LANS System หรือการทำ Holographic Solar Concentrator เป็นต้น

****************************************************************************
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

     
เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง
 ตัวอย่างโครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
 เพื่อจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การเลือกหัวข้อเรื่องโครงงานขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียน การตั้งชื่อเรื่องต้องให้มีความสัมพันธ์ กับเนื้อเรื่องและมีความเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างหัวข้อโครงงานต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ยกมาแสดงเพื่อให้เห็นขอบข่ายของเรื่องต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถคิดทำโครงงานได้
โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
  • เกมผจญภัยกับพระอภัยมณี
  • เกมอักษรเขาวงกต
  • เกมเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • เกมผจญภัยกับภาษาอังกฤษ
  • เกมหมากฮอส
  • เกมบวกลบเลขแสนสนุก
  • เกมศึกรามเกียรติ์
  • เกมมวยไทย
  • เกมอักษรไขว้

****************************************************************************


อ้างอิงจาก

http://wisawachit-sawangphon-class-m6-4-no-4.blogspot.com/2014/11/blog-post.html
http://kokookkok.blogspot.com/2012/08/5-tools-development-3d-developmental.html
http://toffykz.blogspot.com/2012/08/7.html
https://ipattapong.wordpress.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1/